แหล่งรวมความรู้และการรักษาโรคทรวงอก

SIRA DOCTOR LUNG (โดย นายแพทย์ศิระ เลาหทัย)

แหล่งรวมความรู้และการรักษาโรคทรวงอก

โรคอกบุ๋ม (Pectus Excavatum)

 31/07/2023 |  1751 Views

ขั้นตอนการผ่าตัด

โรคอกบุ๋ม(Pectus Excavatum)
– [ ] ภาวะความผิดรูปของผนังทรวงอกที่พบบ่อย ในคนทั่วไป
– [ ] เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ของกระดูกอ่อนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง ส่งผลทำให้หน้าอกเกิดการยุบตัว
– [ ] พบอัตราส่วน 1 ต่อ 1000 คน และมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่า
– [ ] สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เกิด หรือ โตขึ้นมาช่วงวัยรุ่นได้
– [ ] ในกรณีที่ภาวะนี้มีความผิดปกติอย่างรุนแรงอาจส่งผลทำให้มีอาการกดเบียดหัวใจ และ ปอดได้
– [ ] อาจมีภาวะร่วมอย่างอื่นได้เช่นกระดูกสันหลังคด หรือ ภาวะจากยีนผิดปกติ เช่น Marfan syndrome ได้

สำหรับผู้ป่วยที่แนะนำควรมาพบแพทย์มีกรณีดังต่อไปนี้
1. มีอาการเจ็บหน้าอก
2. มีอาการเหนื่อยง่าย หรือ หายใจไม่สุด
3. ออกกำลังกายได้ลดลง
4. ไม่มีความมั่นใจในตนเอง หรือ ไม่กล้าเข้าสังคม

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
-ซักประวัติตรวจร่างกาย
-วัดสัดส่วนและถ่ายรูป บริเวณทรวงอก-เจาะเลือดเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
-เอ็กเซรย์คอมพิวเตอร์ปอด (CT chest) เพื่อวัดระดับความรุนแรง-ตรวจสมรรถภาพปอด Lung Function Tests (PFT)-ตรวจสมรรถภาพหัวใจ Cardiac Echocardiography

การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด
การรักษาโดยไม่ผ่าตัดนั้น สามารถใช้อุปกรณ์ดูดผนังทรวงอก หรือ เรียกว่า Vacuum bell ซึ่งมักนิยมใช้ในผู้ป่วยที่ภาวะอกบุ๋ม แบบไม่รุนแรง กลไก การรักษาโดยวิธีจะใช้ เครื่องมือตัวนี้ทำหน้าที่ดูดบริเวณที่หน้าออกยุบขึ้นมา โดยจะค่อยช่วยอย่างช้าๆ ซึ่งจะใช้เวลาอย่างต่ำ 1 ถึง 2 ปี ในการที่จะเห็นผล มักทำในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ขวบ และ ภาวะอกบุ๋มไม่รุนแรง (โดยความลึกไม่มากกว่า 1.5 เซนติเมตร)

การรักษาโดยการผ่าตัด Minimally Invasive Repair Of Pectus Excavatum [MIRPE] ; NUSS procedure
1. ใช้เหล็กดัดตามพยาธิภาพของทรวงอก
2. ไม่ตัดกระดูก
3. แผลเล็ก
4. ใช้การผ่าตัดส่องกล้อง

วิธีการผ่าตัดนั้นจะอ้างอิงจาก
• การวัดพยาธิสภาพทรวงอกจากเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Measurement For Bar Contouring)
• วัดโดยใช้ Park’s Morphological Classification Criteria [Symmetrical And Asymmetrical Defects]

ขั้นตอนการผ่าตัด
การผ่าตัดนั้นต้องใช้วิธีการดมยาสลบ และ มีวิธีการผ่าตัดดังนี้
• Sternal Lift Technique/Crane Technique – เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บหัวใจและปอด
• ใช้อุปกรณ์ส่องกล้องขณะเอาเหล็กลอดใต้กระดูก Pectoscopy – Entire Procedure In Chest Done Under Endoscopic Vision
• ใช้เหล็กชนิดพิเศษในการดัด Specially Designed Stainless Steel Bar/ Bar Stabilizers/ Bar Fixators

ภาวะแทรกซ้อนที่เจอได้ในการผ่าตัด
-ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปจากยาดมสลบ
-ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้แก่

  1. มีอาการบาดเจ็บต่อปอดและหัวใจ
  2. ลมรั่วในปอด หรือ เลือดคั่งในปอด
  3. เหล็กเลื่อน หรือ พลิก
  4. แผลติดเชื้อ

ขั้นตอนการดูแลหลังจากการผ่าตัด
• หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะย้ายไปที่หอวิกฤตเพื่อสังเกตอาการ
• ควบคุมอาการปวดโดยยาหลายแขนง
• สามารถกินข้าวได้ตามปกติหลังผ่าตัด
• ภาวะทรวงอกหลังผ่าตัดจะเฝ้าติดตามโดยการทำเอ็กซเรย์
• ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ 5-7 วันหลังผ่าตัด

คำแนะนำหลังกลับบ้าน
• ลดการยกของหนัก
• แนะนำหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ใช้การปะทะ เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล
• สามารถเริ่มเล่นกีฬาเบาๆ เช่น วิ่ง หรือ ว่ายน้ำ หลังผ่าตัด 6 เดือน

ขั้นตอนเอาเหล็กออก
โดยปกติแนะนำเอาเหล็กหลังจากการผ่าตัด 3-4 ปีขึ้นอยู่กับอายุที่ใส่

ประโยชน์ของการผ่าตัด
1)สามารถทำให้ปอดและหัวใจที่ถูกเบียดกลับมาอยู่สภาวะเดิม
2)ผู้ป่วยหายใจได้โล่งขึ้น
3)เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง

ท่านใดสนใจสามารถเข้าไปสอบถามเพิ่มเติมผ่านเพจเฟสบุคผ่าตัดปอดโดยนายแพทย์ศิระ หรือ Lineid: @lungsurgeryth

 

รีวิวผลการผ่าตัด