เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องปอดขั้นสูง
เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องมีความจำเป็นต่อการรักษาทุก ๆโรคที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเทคนิคนี้ จะส่งผลทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อร่างกายน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว เจ็บแผลน้อยหลังได้รับการผ่าตัด
ปัจจุบันการผ่าตัดแบบส่องกล้องแทบจะเป็นการผ่าตัดมาตรฐานในทุก ๆ อวัยวะภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็นถุงน้ำดี ลำไส้ ไส้เลื่อน มดลูก จนไปถึงการผ่าตัดปอด ดังนั้นศัลยแพทย์ด้านนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องมั่นฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติมในเทคโนโลยีนี้ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและก่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
อ.นพ.ศิระ เลาหทัย คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล แพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก กล่าวว่า การผ่าตัดนั้นมีหลากหลายแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคนิคในการผ่าตัดมีความแตกต่างกัน การผ่าตัดแบบเปิดมักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ แต่การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไปในรูนั้น ๆ ส่วนสายตาจะมองจอมอนิเตอร์หรือแอลอีดี ในลักษณะคล้ายกับการเล่นวีดีโอเกม ดังนั้นศัลยแพทย์ต้องฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญ ขอบเขตการให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า (VATS) Video assisted thoracoscopic surgery
อ.นพ.ศิระ เลากทัย ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้การผ่าตัดส่องกล้องปอดค่อนข้างมีความหลากหลาย เทคนิคเริ่มตั้งแต่การผ่าตัด แบบ 3-4 จุด จนมาถึงปัจจุบันที่มีการทำผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบจุดเดียว หรือที่เรียกว่า Uniportal video assisted thoracoscopic surgery คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ขนาด 3.5 เซ็นติเมตรแบบจุดเดียว โดยอุปกรณ์ทั้งหมดจะเข้าไปอยู่ในช่องเดียวและมองผ่านทางจอวีดีทัศน์ขณะทำการผ่าตัด โดยเป้าหมายนี้ ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านหลายจุดและทำลายเนื้อเยื่อร่างกายให้น้อยมี่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน
การผ่าตัดแบบจุดเดียวนั้นสามารถทำการผ่าตัดได้ตั้งแต่โรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax) ,มะเร็งปอด ( Lung cancer), น้ำในเยื่อหุ้มปอด ( Pleural effusion) ,หนองในปอด (Empyema thoracic) ,เนื้องอกในช่องอกหรือต่อมไทมัส (Mediastin tumour) ,เหงื่อออกมือ (Palmar hyperhidrosis) และยังมีโรคอื่น ๆ อีกหลายอย่างในช่องทรวงอก การผ่าตัดชนิดนี้ทางโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้มานานหลายปี เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วที่สุด ผู้ป่วยท่านใดที่ต้องการสอบถามรายละเอียดการผ่าตัดส่องกล้องสามารถเข้ารับการปรึกษาได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก “ผ่าตัดปอด” www.facebook.com/search/top/?q=ผ่าตัดปอด หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ @lungsurgeryth