เนื้องอกในปอด
เนื้องอกในปอด พบได้ไม่บ่อย โดยส่วนมากมักพบโดยบังเอิญ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ ความยากของเนื้องอกกลุ่มนี้คือ การแยกระหว่างก้อนเนื้อธรรมดา กับ มะเร็ง โดยลักษณะของก้อนอาจบ่งบอกได้ไม่ชัดเจน ในบางครั้งการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการทำ PET scan เข้ามามีบทบาทส่วนรวมในการวินิจฉัย สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเอาผลชิ้นเนื้อทำการวินิจฉัย โดยการเอาชิ้นเนื้อสามารถทำได้ตั้งแต่การทำแบบการทำเอาเข็มเจาะ ตรวจ จนกระทั่งถึงการผ่าตัด โดยโรคเนื้องอกที่พบได้บ่อยในปอดได้แก่
- Harmartoma
- Mucous gland adenoma
- Infectious granulomatosis
- Intrapulmonary fibrous tumour
- Granular cell tumour
- Inflammatory pseudotumour (plasma cell granuloma-histiocytoma complex, plasma cell granuloma, histiocytoma, xanthofibroma, xanthoma)
- Papilloma (multiple squamous papillomas, Solitary squamous papillomas)
- Chondroma
- Leiomyoma
- Clear cell tuomur (Sugar tumour)
ผู้ป่วยส่วนมากมักมาด้วยไม่มีอาการหรือตรวจพบเจอโดยบังเอิญ ส่วนอาการที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ คือ อาการไอ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย เป็นต้น โดยกลุ่มโรคนั้นตัวก้อนมักจะเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ในบางรายอาจใช้เวลาเป็นปี ถึงจะโตขึ้น ทำให้เราชะล่าใจ คิดว่าไม่ได้เป็นอะไร วิธีทางเลือกในการเอาชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจนั้น คือการผ่าตัด โดยสามารถทำผ่าตัดได้ผ่านทางส่องกล้อง โดยมีขนาดแผลเล็กแค่ 3 เซนติเมตร บริเวณข้างล่างตัวใช้เวลาผ่าตัด 1-2 ชั่วโมง ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 3-4 วัน การผ่าตัดส่องกล้องนั้น นับว่าเป็นทางเลือกที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้น การผ่าตัดเป็นวิธีที่ได้ผลแม่นยำที่สุด ในการวินิจฉัยของกลุ่มโรคเนื้องอกในปอดและเป็นการรักษาไปในตัวได้เลย